Demo Site

Tuesday, February 01, 2011

วันมาฆบูชา 2554


วันมาฆบูชา เดิมเรียกว่า วันมาฆปุณณมี หมายถึง วันที่พระจันทร์เพ็ญเต็มดวงในเดือนมาฆะ ส่วนมาฆบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือนมาฆะ คือ วันเพ็ญ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ซึ่งวันมาฆบูชานี้ เราทราบกันว่า เป็นวันที่พระภิกษุ ๑๒๕๐ รูป มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย และมีเหตุอัศจรรย์พร้อมกัน ๔ ประการ เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต การประชุมพร้อมกันด้วย องค์ ๔ และในวันนี้ พระพุทธเจ้าทรงกระทำวิสุทธิอุโบสถ ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ซึ่งเราถือกันว่า เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา
ความสำคัญ
วันมาฆบูชา ประกอบด้วยเหตุสำคัญ ๓ ประการ คือ
๑. เป็นวันที่พระสารีบุตร บรรลุอรหัตผล ที่ถ้ำสุกรขาตา หลังจากบวชได้ ๑๕ วัน
๒. เป็นวันประชุมสงฆ์ครั้งใหญ่ ถึง ๑,๒๕๐ รูป และพระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ประกาศหลักการ วิธีการ อุดมการณ์ของพระพุทธศาสนา
๓. พระพุทธเจ้าทรงตั้งพระอัครสาวก คือพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะส่วนใหญ่เราจะทราบกันแต่เพียงว่า เป็นวันจาตุรงคสันนิบาต พระสงฆ์มาประชุมกัน ๑,๒๕๐ รูป และพระพุทธเจ้า ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ จึงควรทราบเพิ่มเติมดังนี้
พระ พุทธองค์ ทรงเสด็จลงจากภูเขาคิชฌกูฏ เพื่อไปยังพระวิหารเวฬุวัน หลังจากที่ทรงแสดงธรรมโปรด ทีฆนขปริพาชก แล้ว ซึ่งพระสารีบุตร ก็ได้บรรลุพระอรหันต์ ด้วยพระธรรมเทศนานั้นเช่นกัน พระพุทธองค์เสด็จมายัง พระวิหาร ทรงประชุมพระสาวก ซึ่งมีมหาสันนิบาตประกอบด้วยองค์ ๔ คือ
๑. วันนั้น เป็นวันอุโบสถ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ประกอบด้วยมาฆนักษัตร (ดวงจันทร์เต็มดวงในเดือนมาฆะ)
๒. พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมกันตามธรรมดาของตน โดยมิได้ นัดหมาย
๓ .พระสงฆ์เหล่านั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญา ๖ ไม่มีแม้ สักรูปหนึ่งที่เป็นปุถุชน หรือพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ผู้สุกขวิปัสสกะ
๔. พระสงฆ์เหล่านั้น เป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา คือพระพุทธเจ้า ทรง อุปสมบทให้ทั้งสิ้น
โอวาทปาฏิโมกข์ - โอสารณา
โอวาทปาติโมกข์
ความหมายของคำว่า ปาติโมกข์
คำว่า ปาตี ได้แก่ การตกไป เช่น การตกไปในสังสารวัฏ การตกไปในกิเลส การตกไปในห้วงความทุกข์ และอบายทั้งหลาย ดังนั้น ปาตี จึงเป็นชื่อของปุถุชน ทั้งหลายผู้ตกไปในสังสารวัฏ กิเลส ความทุกข์ และอบายทั้งหลายคำว่า โมกฺข ได้แก่ การหลุดพ้น เครื่องหลุดพ้น ซึ่งหมายถึง นิพพาน
เพราะฉะนั้น คำว่า ปาติโมกข์ จึงแปลว่า ความหลุดพ้นจากกิเลส และความทุกข์ทั้งหลาย รวมความว่า โอวาทปาติโมกข์ จึงได้แก่ คำสอน เพื่อความหลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์
ประเภทของปาติโมกข์ปาติโมกข์ แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ๑. อาณาปาติโมกข์ คือ สิกขาบททั้งหลายที่ทรงบัญญัติ เพื่อเป็นขอบเขตแก่ภิกษุ และภิกษุณีทั้งหลาย หลักธรรมที่ว่า สำรวมในพระปาติโมกข์ หมายถึง อาณาปาติโมกข์ นี้[/b]๒. โอวาทปาติโมกข์ คือ โอวาททั้งหลายที่ทรงแสดงในวันเพ็ญเดือน ๓ มีโอวาทว่า สพฺพปาปสฺส อกรณํ เป็นต้นอาณาปาติโมกข์นั้น พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ และพระสาวกทั้งหลายย่อมสวดแสดงทุกกึ่งเดือน ส่วนโอวาท ปาติโมกข์นั้น พระพุทธเจ้าเท่านั้นทรงแสดง
โอวาทปาฏิโมกข์ หลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา หรือคำสอนอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้แก่พระพุทธพจน์ ๓ คาถากึ่ง ที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ รูป ผู้ไปประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ณ พระเวฬุวนาราม ในวันเพ็ญเดือน ๓ ที่เราเรียกกันว่าวันมาฆบูชา (ถรรถกถากล่าวว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์นี้ แก่ที่ประชุมสงฆ์ตลอดมา เป็นเวลา ๒๐ พรรษา ก่อนที่จะโปรดให้สวดปาฏิโมกข์อย่างปัจจุบันนี้แทนต่อมา),
คาถา โอวาทปาฏิโมกข์ มีดังนี้ (โอวาทปาติโมกข์ ก็เขียน)
สพฺพปาปสฺส อกรณํกุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํเอตํ พุทธาน สาสนํฯ
ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา
นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตีสมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโตฯ
อนูปวาโท อนูปฆาโต ปาติโมกฺเข จ สํวโร
มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธาน สาสนํฯ
แปล : การไม่ทำความชั่วทั้งปวง ๑ การบำเพ็ญแต่ความดี ๑ การทำจิตของตนให้ผ่องใส ๑ นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ขันติ คือความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง, พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่านิพพาน เป็นบรมธรรม, ผู้ทำร้ายคนอื่นไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต,ผู้เบียดเบียนคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ
การไม่กล่าวร้าย ๑ การไม่ทำร้าย ๑ ความสำรวมในปาฏิโมกข์ ๑ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร ๑ ที่นั่งนอนอันสงัด ๑ ความเพียรในอธิจิต ๑ นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่เข้าใจกันโดยทั่วไป และจำกันได้มาก ก็คือ ความในคาถาแรกที่ว่า ไม่ทำชั่ว ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ผ่องใส
โอวาทวรรค ตอนที่ว่าด้วยเรื่องให้โอวาทแก่นางภิกษุณี เป็นต้น, เป็นชื่อวรรคที่ ๓ แห่งปาจิตติยกัณฑ์ ในมหาวิภังค์พระวินัยปิฎก
โอวาทานุสาสนี คำกล่าวสอนและพร่ำสอน, คำตักเตือนและแนะนำพร่ำสอน
โอษฐ์ ปาก, ริมฝีปาก
โอสารณา การเรียกเข้าหมู่, เป็นชื่อสังฆกรรมจำพวกหนึ่ง มีทั้งที่เป็นอปโลกนกรรม (เช่น การรับสามเณรผู้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งถูกนาสนะไปแล้วและเธอกลับตัวได้) เป็นญัตติกรรม (เช่น เรียกอุปสัมปทาเปกขะที่สอนซ้อมอันตรายิกธรรมแล้วเข้าไปในสงฆ์) เป็นญัตติทุติยกรรม (เช่น หงายบาตรแก่คฤหัสถ์ที่กลับตัวประพฤติดี) เป็นญัตติจตุตถกรรม (เช่นระงับนิคหกรรมที่ได้ทำแก่ภิกษุ)
กิจกรรมของชาวพุทธ
กิจกรรมของชาวพุทธในวันมาฆบูชา๑. เว้นอบายมุขทุกประเภท๒. ตักบาตร ทำบุญ ให้ทาน๓. สมาทานศีล รักษาศีล ๕ ศีลอุโบสถ๔. ฟังพระธรรมเทศนาโอวาทปาติโมกข์๕. ปฏิบัติกรรมฐาน๖. เวียนเทียนกระทำประทักษิณรอบสัญญลักษณ์พระรัตนตรัย เพื่อน้อมระลึกถึงจาตุรงคสันนิบาต และการแสดง โอวาทปาติโมกข์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

0 comments:

Post a Comment

ค้นหาข้อมูล

จำนวนผู้เข้าชม