Demo Site

เรียนธรรมะกับเด็กวัด

ความเป็นมาของพระไตรปิฎก ภาษาบาลี
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พระเทพโสภณ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต)


ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน พระองค์ไม่ทรงแต่งตั้งพระภิกษุรูปใดเป็นศาสดาปกครองคณะสงฆ์สืบต่อจากพระองค์ นอกจากประทานแนวทางไว้ว่า “โดยที่เราล่วงลับไป ธรรมวินัยที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วจักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย”


ชาวพุทธจึงถือเอาพระธรรมวินัยเป็นเสมือนตัวแทนพระศาสดา แต่เนื่องจากพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้สมัยยังทรงพระชนม์ชีพอยู่ นั้นไม่ได้รับการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรจึงเป็นไปได้ที่พระธรรมวินัยบาง ส่วนจะสูญหายไปภายหลังปรินิพพานของพระพุทธเจ้าถ้าไม่มีมาตรการเก็บรักษาที่ ดี


มาตรการในการเก็บรักษาพระธรรมวินัยเรียกว่า การสังคายนา หมายถึง การประชุมสงฆ์จัดระเบียบหมวดหมู่พระะรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้จน สรุปเป็นมติที่ประชุมว่า พระพุทธเจ้าสอนไว้อย่างนี้แล้ว ก็มีการท่องจำถ่ายทอดสืบต่อ ๆ กันมาการสังคายนาพระะรรมวินัยมีขึ้นหบายครังและการนับครั้งของการสังคายนาก็ แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา การสังคายนาที่ทึกฝ่ายยอมรับตรงกันได้แก่การสังคายนา ๓ ครั้งแรกในประเทศอินเดียการสังคายนาครั้งที่หนึ่ง จัดขึ้นใกล้กรุงราชคฤห์ภายหลังที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วได้ ๓ เดือน มีพระอรหันต์ประชุมกัน ๕๐๐ องค์ พระมหากัสสปะเถระเป็นประะานและเป็นผู้สอบถาม พระอุบาลีตอบข้อซักถามเกี่ยวกับธรรมคำตอบของพระอานนท์เริ่มต้นด้วยประโยคว่า “เอวัมเม สุตัง” แปลว่า “ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้”


ในการสังคายนาครั้งที่สอง ซึ่งจัดขึ้นใน พ.ศ. ๑๐๐ ยังไม่มีการแบ่งพระธรรมวินัยเป็นพระไตรปิฎกอย่างชัดเจน การจัดประเภทพระธรรมวินัยเป็นรูปพระไตรปิฎก มีขึ้นในการสังคายนา ครั้งที่ ๓ ใน พ.ศ. ๒๓๕ จัดขึ้น ณ กรุงปาฏลีบุร ประเทศอินเดีย ไตรปิฎก แปลว่า สามคัมภีร์ หมายความว่า พระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้นั้นแบ่งออกเป็น ๓ ปิฎกหรือคัมภีร์ นั่นคือ วินัยปิฎก ว่าด้วยศีลหรือวินัยของภิกษุ ภิกษุณี สุตตันตปิฎก ว่าด้วยพระธรรมเทศนาทั่วไป ตัวอย่างหรือเรื่องราวประกอบ อภิธรรมปิฎก ว่าด้วยหลักธรรมล้วน ๆ เน้นหนักในเรื่องจิตวิทยา และอภิปรัชญา


ในสมัยนั้นยังไม่มีการจารึกพระไตรปิฎกเป็นลายลักษณ์อักษร การเก็บบันทึกพระไตรปิฎกต้องอาศัยความจำเป็นเครื่องมือสำคัญ อาจารย์ท่องจำพระไตรปิฎกแล้วบอกปากเปล่าแก่ศิษย์ซึ่งจะต้องรับภาระท่องจำกัน ต่อๆ ไป และเมื่อท่องจำได้ก็มาสวดซักซ้อมพร้อมกัน ทำให้เกิดประเพณีสวดมนต์ การท่องจำและการบอกเล่าต่อๆ กันมาเช่นนี้ เรียกว่า การศึกษาระบบ มุขปาฐะ หมายถึง การเรียนโดยอาศัยคำบอกเล่าจากปากของอาจารย์


พระไตรปิฎกถูกเก็บรักษาและถ่ายทอดต่อๆ กันมาด้วยระบบการศึกษาแบบมุขปาฐะนี้จนกระทั่งได้รับการจารึกเป็นลายลักษณ์ อักษรลงในใบลานในการสังคายนาครั้งที่ ๔ ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศลังกาใน พ.ศ. ๔๕๐


ภาษาที่บันทึกคำสอนของพระพุทธเจ้าเรียกว่า ภาษาบาลี บาลีแปลว่า “ภาษาที่รักษาพระพุทธพจน์” สันนิษฐานว่าบาลีเป็นภาษาที่ใช้พูดกันในแคว้นมคธในครั้งพุทธกาล เมื่อมีการจารึกพระไตรปิฎกลงในใบลานเป็นครั้งแรก ท่านใช้อักษรสิงหลเขียนภาษาบาลีของพระไตรปิฎกประเทศอื่นๆ ก็ได้จารึกภาษาบาลีลงในใบลานโดยใช้อัการของประเทศนั้น ในปัจจุบันเมื่อการพิมพ์หนังสือเจริญขึ้น พระไตรปิฎกถูกจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มหนังสือทำให้มีพระไตรปิฎกฉบับอักษรต่างๆ เช่นฉบับอักษรสิงหลของลังกา แบบอักษรเทวนาครีของอินเดีย ฉบับอักษรของฉบับอักษรพม่า ฉบับอักษรไทย และแบบอักษรโรมันของสมาคมบาลีปกรณ์ที่อังกฤษ


เมื่อพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ได้รับการเผยแพร่ในประเทศไทยตั้งแต่สมัยพ่อ ขุนรามคำแห่งมหาราชแห่งกรุงสุโขทัย พระไตรปิฎกสมัยนั้นยังไม่ถูกจารึกเป็นอักษรไทย ดังปรากฎในหนังสือ สังคีติยวงศ์ ว่าการสังคายาพระธรรมวินัยตรวจชำระพระไตรปิฎกมีขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ใน พ.ศ. ๒๐๒๐ พระเจ้าติโลกราชแห่งเชียงใหม่ อาราธนาพระสงฆ์หลายร้อยรูปให้ช่วยชำระอักษรพระไตรปิฎกในใบลาน ณ วัดโพธารามใช้เวลา ๑ ปีจึงเสร็จการสังคายนา อักษรที่ใช้ในการจารึกพระไตรปิฎกในครั้งนั้นคงเป็นอักษรไทยลานนา


การสังคายนาครั้งที่ ๒ ในประเทศไทยมีขึ้นใน พ.ศ. ๒๓๓๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงอาราธนาพระสงฆ์ให้ชำระพระไตรปิฎกซึ่งกระจัดกระจายสูญหายหลังกรุง ศรีอยุธยาถูกพม่าเผาทำลาย การสังคายนาครั้งนี้จัดทำ ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ อักษรที่ใช้จารึกพระไตรปิฎกในครั้งนั้นเป็นอักษรขอม


ต่อมาในระหว่าง พ.ศ. ๒๔๓๑ - ๒๔๓๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงให้คัดลอกพระไตรปิฎกอักษรขอมในใบลานออกมาเป็นตัวอักษรไทย แล้วชำระแก้ไขและพิมพ์ขึ้นเป็นเล่มหนังสือได้ ๔๙ เล่ม นับเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่ได้มีการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นรูปเล่ม หนังสือด้วยอักษรไทย


ในระหว่าง พ.ศ. ๒๔๖๘ - ๒๔๗๓ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ คระสงฆ์ได้แปบพรไตรปิฎก ภาษาบาลีเป็นภาษาไทย และได้จัดพิมพ์เป็นการฉลองยี่สิบห้าพุทธศตวรรษใน พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นเล่มหนังสือได้ ๘๐ เล่ม ในการพิมพ์ครั้งต่อมาได้รวมเล่มลดจำนวนเหลือ ๔๕ เล่มเท่าฉบับบาลี


ใน พ.ศ. ๒๕๓๐ คณะสงฆ์และรัฐบาลไทยได้จัดงานสังคายนาพระธรรมวินัยตรวจชำระพระไตรปิฎกทั้ง ฉบับภาษาบาลีและภาษาไทยแล้วจัดพิมพ์ขึ้นใหม่เรียกว่า พระไตรปิฎกฉบับสังคายนา เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๕ รอบนักษัตร


ใน พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งเป็นปีที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชนินีนาถทรงเจริญพระชนมพรรษา ๕ รอบนักษัตร มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ตรวจชำระพระไตรปิฎกภาษาบาลีสำเร็จเรียบร้อย เรียกว่า พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย นอกจากนี้ยังได้ตรวจชำระและพิมพ์คำอธิบายพรไตรปิฎกที่เรียกว่า อรถกถาภาษาบาลีอีกด้วย


ในวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๓๕ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดงานสัปดาห์สมโภชพระไตรปิฎกและอรรถกถาฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย


ใน พ.ศ. ๒๕๓๗ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เห็นสมควรแปลพระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยายาลัย เป็นภาษาไทย ที่พระพุทงะศาสนิกชนทั่วไปสามารถอ่านเจ้าใจอรรถธรรมได้ง่าย เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติในมหามงคลสมัยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถทรงเจริญพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษาและเมื่อความนี้ได้ทราบถึงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี แล้ว พระดงค์ทรงมีพระกรุณาธิคุณรับเป็นประธานอุปถัมภ์โครงการแปลและจัดพิมพ์พระ ไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย


ในวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ ได้มีพิธีเปิดประชุมการแปลพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ณ พระอุโบสถวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สุวรรณ สุวณฺณโชโต) เป็นประธานฝ่ายบรรพชิต นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี เป็นประธานฝ่ายคฤกัสถ์


โครงการแปลพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีกำหนดแล้วเสร็จในปลายปี ๒๕๓๙

ประวัติการศึกษาพระอภิธรรมในประเทศไทย

เริ่มตั้งแต่ชาติไทยสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี พ่อขุนรามคำแหงใน พ.ศ. ๑๘๒๐ – ๑๘๖๐ ทรงทำนุบำรุงพระศาสนาเป็นอย่างดี ต่อมาพญาลิไทซึ่งเป็นพระราชนัดดาของพ่อขุนรามคำแหง ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือไตรภูมิพระร่วง เมื่อ พ.ศ ๑๘๙๖ โดยมีจุดประสงค์เพื่อรักษาพระอภิธรรมของพระพุทธเจ้าไว้ และเพื่อโปรดพระราชมารดา รวมทั้งประชาราษฎร์ทั่วไปให้เข้าใจเรื่องกรรมและผลของกรรมของมนุษย์ สัตว์ทั้งหลายในหนังสือไตรภูมิพระร่วงนั้น กล่าวถึงปรมัตถ์ธรรมอันเป็นธรรมที่ประเสริฐอย่างยิ่ง คงสภาวะไม่มีการแปรปรวนเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะมีการผันแปรของโลกไปอย่างไร มีกล่าวถึง จิต เจตสิก และรูป ในคนและสัตว์ที่มีการเวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน ๓๑ ภูมิ ของกาม ภพ รูปภพ และอรูปภพอยู่ โดยจะไปเกิดในภพภูมิใด ขึ้นอยู่กับการกระทำคือการประพฤติปฏิบัติของตนเองอย่างไรก็ดี แม้ไปอยู่ภพภูมิใดก็ยังคงเสวยความทุกข์ทั้งหลายอยู่เสมอ นอกจากนั้นแสดงถึงว่า นิพพานเป็นสภาวะที่พ้นจากความ ทุกข์ทั้งปวงเหล่านั้น แต่เนื่องจากพระอภิธรรมเป็นธรรมะชั้นสูง ลึกซึ้ง ยากที่จะเข้าใจและศึกษา โดยเฉพาะเหล่าสาธุชน พุทธศาสนิก ที่เป็นคนธรรมดาทั่วไป ผู้ที่มีภูมิปัญญาทางธรรมะอย่างจำกัด นอกจากนั้นคนส่วนมากในสมัยนั้นและ สมัยต่อๆ มาเข้าใจว่าพระอภิธรรมเป็นเรื่องของการศึกษาของเทวดา มนุษย์จึงมีความสนใจกันไม่มากนักเมื่อถึง พ.ศ. ๒๓๑๐ ไทยเสียบ้านเมืองกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่า บ้านเมืองระส่ำระสาย ขาดผู้นำที่จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา พระอภิธรรมซึ่งธรรมดาเป็นเรื่องที่ยากอยู่แล้ว ก็ยิ่งไม่ค่อยมีสนใจขาดการศึกษาไป



แม้ต่อมาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เริ่มตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ พระองค์ได้ฟื้นฟูการนับถือพระพุทธศาสนาให้เริ่มจะเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาอีก โดยมีการสังคายนาพระไตรปิฎกขึ้น ทบทวนเนื้อความในพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎกและพระอภิธัมมปิฎก พระพุทธศาสนาจึงได้รุ่งเรื่องต่อไป ถึงรัชกาลที่ ๒ รัชการที่ ๓ รัชกาลที่ ๔ รัชกาลที่ ๕ และต่อๆ มาจนถึงรัชกาลที่ ๙ ในปัจจุบันนี้ในประเทศไทย ตั้งแต่รัชสมัยของกรุงศรีอยุธยา พอมีหลักฐานอยู่บ้างว่า มีการ สวดพระอภิธรรมเป็นพิธีกรรมในการบำเพ็ญกุศลให้แก่ศพ แต่ในหนังสือตำนานพระอภิธรรม โดยอาจารย์ธนิต อยู่โพธิ์กล่าวไว้ว่า มีการสวดศพด้วยพระอภิธรรมอย่างจริงจัง เมื่อประมาณต้นรัชกาลที่ ๕ ( เสวยราชย์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๑ – ๒๔๕๓ ) และมีหลักฐานเป็นหนังสือ ๒ เล่ม คือ อภิธัมมัตถสังคหะ แปลร้อยอย่างพิศดาร พิมพ์ครั้งที่ ๒ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๐ และหนังสืออภิธัมฉบับสมบูรณ์ โดยนำเอาเทศนาพิศดารของเก่า พิมพ์ไว้เมื่อปีพ.ศ. ๒๔๗๐ ดังที่ระบุไว้ที่คำนำ มาพิมพ์ใหม่โดยสำนักพิมพ์เลี่ยงเซียงในปี ๒๔๙๔ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการศึกษาพระอภิธรรมและกุศโลบายของบรรพบุรุษไทยในการสืบทอดความรู้พระอภิธรรมได้ทำกันมาอย่างต่อเนื่อง



เมื่อถึงปี พ.ศ. ๒๔๗๕ พระอาจารย์พม่า ภัททันตวิลาสะ เจ้าอาวาสวัดปรก ตรอกจันทร์ เขตยานนาวา กทม.ได้เริ่มทำการสอนวิปัสสนาภาวนาตามนัยแห่งพระอภิธรรม เกิดได้ลูกศิษย์ที่สำคัญคนหนึ่ง คือ แนบ มหานีรานนท์ ซึ่งเรียนพระอภิธรรมทั้งภาคปริยัติ และปฏิบัติอยู่หลายปี จนพระอาจารย์ให้อาจารย์แนบนี้ทำหน้าที่สอนวิปัสสนาและพระอภิธรรมแทนท่าน ในเวลาใกล้ๆ กันนี้ พระอาจารย์พม่า ภัททันตวิลาสะ ได้เชิญอาจารย์ฆราวาสพม่า คืออาจารย์สาย สายเกษม จากจังหวัดลำปาง มาช่วยการศึกษาปริยัติและปฏิบัติธรรมโดยนัยอภิธรรม จึงเริ่มมีการสอนเป็นชั้น เรียนที่แน่นอนขึ้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ทีวัดระฆังโฆสิตาราม ธนบุรี โดยมีท่านเจ้าคุณพระภาวนาภิรามเถระ (สุข ปวโร) เป็นอาจารย์ใหญ่ร่วมกับอาจารย์สาย อาจารย์แนบ และพระทิพย์ปริญญา (ซึ่งทั้งหมดเป็นศิษย์ของพระอาจารย์ภัททันตวิลาสะทั้งสิ้น) การสอนกระทำโดยใช้ตำราพระอภิธัมมัตถสังคหะ ๙ ปริจเฉท เป็นบันทัดฐาน ในระหว่างนี้ก็มีการเปิดการศึกษาและการสอนปริยัติและปฏิบัติทางพระอภิธรรมขึ้นที่วัดสามพระยา วัดมหาธาตุ ฯ กทม. และต่างจังหวัด เช่น อยุธยา ลพบุรี ฯลฯ อีกหลายจังหวัด จากโอวาทหลวงพ่อวัดปากน้ำเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๔๙๖ ก็ได้กล่าวไว้ว่า พระทิพย์ปริญญาสอนอภิธรรมให้กับพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกาที่วัดปากน้ำ หลวงพ่อวัดปากน้ำจึงเทศน์ เรื่องจิตปรมัตถ์เพื่อเกื้อกูลแก่ผู้กำลังศึกษาพระอภิธรรม



ในปีพ.ศ. ๒๔๙๑ ท่านเจ้าคุณพระพิมลธรรม (พระอาสภะเถระ) เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุฯ ดำรงตำแหน่งองค์สังฆมนตรีว่าการองค์การปกครองของคณะสงฆ์ประเทศไทยด้วย ได้ติดต่อก้บรัฐบาลประเทศพม่า (ฯพณฯ อูนุเป็นนายกรัฐมนตรี) ขอให้ส่งพระอาจารย์พม่าผู้เชี่ยวชาญพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ มาช่วยการสอนพระอภิธรรม ในประเทศไทย สภาแห่งคณะสงฆ์พม่าจึงส่งพระพม่า ๒ องค์ คือ พระอาจารย์สัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ และพระอาจารย์เตชินทะ ธัมมาจริยะ มาจำพรรษาเริ่มแรกอยู่ที่วัดปรก เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๒ แล้วต่อไปก็ย้ายไปสอนพระอภิธรรม ที่วัดระฆังฯ ในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ได้มีการเปิดการสอนพระอภิธรรมขึ้นอีกแห่งหนึ่งที่ “โรงเรียนบรรยายอภิธรรมปิฏก” ที่พุทธสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ตรงข้ามวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ ซึ่งอีก ๔ ปีต่อมาก็มีการจัดตั้ง “พระอภิธรรมมูลนิธิ” ขึ้นโดยอาจารย์บุญมี เมธางกูร รับผิดชอบเรื่องการสอนพระอภิธรรมร่วมกับอาจารย์แนบและคุณพระชาญบรรณกิจขยายการสอนให้มีมากขึ้น ซึ่งต่อมาอภิธรรมมูลนิธิ ก็ย้ายตามพุทธสมาคมแห่งประเทศไทยไปอยู่ที่ถนนพระอาทิตย์ แล้วแยกตัวออกจากพุทธสมาคมฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๙ ไปเปิดการสอนต่อที่โรงเรียนมงคลพิทย์ วัดพระเชตุพลฯ และพอถึงปลายปี พ.ศ. ๒๕๒๙ อภิธรรมมูลนิธิก็ย้ายออกไปจากวัดพระเชตุพลฯ ไปเปิดที่ทำการใหม่อยู่ตรงข้ามกับพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม แล้ววัดพระเชตุพลฯ ก็จัดตั้งมูลนิธิวัดพระเชตุพนฯ ขึ้นทำการสอนพระอภิธรรมต่อไปที่ “โรงเรียนพระอภิธรรมมงคลทิพยมุนี” ทีนั้นพระอภิธรรมจึงได้มีการศึกษาและสอนที่วัดพระเชตุพนฯ เป็นเวลา ๒๖ ปีมาแล้วตราบเท่าทุกวันนี้



พระอาจารย์เตชินทะ สอนพระอภิธรรมอยู่ไม่นานนักก็เดินทางกลับไปพม่าแล้วไม่ได้กลับมา ส่วนพระอาจารย์สัทธัมมโชติกะ อยู่สอนตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๒ พอถึงปี พ.ศ. ๒๔๙๓ ได้ตั้ง “อภิธรรมมหาวิทยาลัย” ขึ้นที่ วัดระฆังฯ มีหลักสูตรอภิธรรมตรี (๑ ปี ๖ เดือน) อภิธรรมโท (๓ ปี) และอภิธรรมเอก (๓ ปี) รวมหลักสูตรอภิธรรมทั้งหมด ๗ ปีครึ่งสำเร็จได้เป็นอภิธรรมบัณฑิต ซึ่งสามารถศึกษาต่อในระดับอาจารย์อีก ๖ ชั้นต่อไป โดยต้องทำการศึกษาค้นคว้าเอง เขียนวิทยานิพนธ์ และมีการสอบอภิธรรมบัณฑิตชั้นสูงทุกปี



ต่อมาที่วัดมหาธาตุฯ ได้มีการสอนอภิธรรมขึ้นที่โรงเรียน “อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย” ในปีพ.ศ. ๒๕๑๑ ขึ้นและในปีต่อๆ มาก็มีการเปิดสำนักเรียนพระอภิธรรมตามวัดต่างๆ ในต่างจังหวัดอีกไม่ต่ำกว่า ๕๐ แห่ง นับว่าเป็นความก้าวหน้าในด้านการศึกษาพระอภิธรรมในประเทศไทยมิใช่น้อยเลย นับได้ว่าเริ่มต้นที่พระอาจารย์พม่าภันทันตะวิลาสะ ในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ พ.ศ. ๒๔๙๐ ต่อด้วยพระอาจารย์พม่า สัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ ซึ่งเป็นผู้ตั้งต้นวางรากฐานการศึกษาพระอภิธรรม โดยเมื่อท่านมาสอนพระอภิธรรมทั้งภาคปริยัติและภาคปฏิบัติที่วัดระฆังฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๓ ในตอนแรกต้องใช้ล่ามช่วยแปล ต่อมาอีก ๑ ปี เมื่อท่านเรียนภาษาไทยได้แล้ว นอกจากสอนแล้ว ท่านยัง เขียนตำราเรียนเป็นภาษาไทย จัดวางหลักสูตรการศึกษาพระอภิธรรมเป็นชั้นๆ ตามลำดับขั้นตอน ดังกล่าวมาแล้ว ทั้งนี้โดยใช้ตำราอภิธรรมมัตถสังคห ๙ ปริเฉทเป็นบรรทัดฐาน ผู้ที่ศึกษาตำรานี้จบแล้ว ก็อาจไปศึกษาต่อในพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ภาษาบาลีและภาษาไทยต่อไปอีกได้



จะเห็นได้ว่าการศึกษาพระอภิธรรมในประเทศไทยได้ดำเนินการมาในระยะเวลาไม่นานมานี้คือเป็นระยะเวลาประมาณ ๖๐ ปีเท่านั้น และยังไม่ได้รับความนิยมสนใจจากพระพุทธศาสนิกชน นักศึกษาธรรมะกันมาก



เนื่องจากพระอภิธรรมเป็นธรรมชั้นสูง ถ้าเปรียบได้กับการเรียนแพทย์ศาสตร์ ก็ต้องเริ่มต้นด้วยการเรียนเตรียมแพทย์ศาสตร์ แล้วเรียนปรีคลีนิค ได้แก่เรียนวิชากายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา พยาธิวิทยาซึ่งเป็นวิชาพื้นฐานของวิชาแพทย์เสียก่อน ก่อนที่จะไปศึกษาเรื่องโรคภัย ไข้ เจ็บในตัวคนต่อไป นอกจากนั้นการเรียนพระอภิธรรมซึ่งเป็นปรมัตถธรรมมีการแสดงเรื่อง จิต เจตสิก รูป และนิพพานเท่านั้น เป็นการศึกษาชีวิตคนที่ลึกซึ้งมาก บุคคลผู้จะศึกษาต้องมีศรัทธาสนใจที่จะรู้ว่าชีวิตคืออะไรปัญหาของชีวิตมีอะไร ตายแล้วไปไหน และการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏเป็นความทุกข์ของชีวิต และจักแก้ปัญหาของชีวิตได้อย่างไร ฯลฯ จำนวนนักศึกษาพระอภิธรรมจึงมีจำนวนน้อย ก็เช่นเดียวกัน ในมหาวิทยาลัยย่อมมีนักเรียนแพทย์จำนวนน้อยกว่านักศึกษาวิชาอื่นๆ ทั้งสิ้น



ผลการศึกษาพระอภิธรรมในปีแรกๆ นั้นมีจำนวนน้อยมาก เพราะยังไม่มีการวัดผลของการศึกษาที่ดี ต่อมา “อภิธรรมมหาวิทยาลัย” ได้จัดให้มีการสอบขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ มีผู้จบหลักสูตรการศึกษาพระอภิธรรมเป็น “ อภิธรรมบัณฑิต ” เป็นรุ่นแรกของการศึกษา เป็นพระภิกษุ สามเณร แม่ชี อุบาสก อุบาสิกาต่างๆ เท่าที่มีการศึกษาและการสอนพระอภิธรรมเป็นเวลา ๖๐ ปี ที่แล้วมานี้ มีนักศึกษาที่สอบไล่สำเร็จอภิธรรมตรี โท เอก ประมาณกว่าหนึ่งพันคน และที่ได้ “อภิธรรมบัณฑิต” ประมาณ ๒๐ ท่าน แม้ปัจจุบันนี้ ก็มีนักศึกษาพระอภิธรรมในกรุงเทพฯ ไม่กี่ร้อยคน รวมกับต่างจังหวัดด้วยแล้วมีประมาณพันกว่าคน สำหรับครูอาจารย์ที่สอนพระอภิธรรมนั้นก็มีเป็นจำนวนไม่ถึงร้อย เนื่องจากเป็นการศึกษาเกี่ยวกับจิต จึงมีคนสนใจน้อยในยุคปัจจุบัน....


แม้พระอภิธรรมจะเป็นเรื่องที่ศึกษาได้ยาก หากให้ความสนใจ และเห็นถึงประโยชน์ในการเข้าถึงสัจธรรมชีวิต ตามหลักพระพุทธศาสนา ทางมูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ นำโดย อาจารย์บุษกร เมธางกูร บุตรสาวของท่านพระอาจารย์บุญมี เมธางกูร ได้ดำเนินการนำพระอภิธรรมทั้ง ๙ ปริจเฉท เข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต เพื่อให้ผู้สนใจใฝ่ธรรมทั้งหลาย ได้เข้ามากอบโกยผลประโยชน์ทางปัญญา เพื่อแสวงหาสัจธรรมให้แก่ชีวิต อันจะนำความผาสุกสวัสดีมาให้ ทั้งในภพนี้และภพหน้า ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย จงดลบันดาลให้ทุกท่าน ประสบแต่ความสุข ความเจริญ เป็นผู้เปี่ยมล้นไปด้วยปัญญา มากด้วยบุญบารมี ตราบสิ้นอายุขัย ด้วยเถิด... สาธุ สาธุ สาธุ... >>>

หลักการเขียนและการอ่านภาษาบาลี

ภาษาบาลีเป็นภาษาที่ใช้ในพระไตรปิฎก ปัจจุบันการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ยังนิยมใช้ ภาษาบาลีอยู่ พุทธศาสนิกชนจึงควรอ่านและเขียนได้บ้างตามสมควร เพื่อจะได้ศึกษาหลักธรรมได้เข้าใจและสามารถนำไปปฏิบัติได้โดยการใช้หลักการดังนี้

1. สระ
สระที่ใช้ในภาษาบาลีมี 8 ตัว คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ เมื่อประกอบกับพยัญชนะ สระอะ จะไม่ปรากฏรูปแต่จะอ่านออกเสียงสระอะ เช่น วร อ่านว่า วะ-ระ

2. พยัญชนะ
พยัญชนะ ในภาษาบาลีมี 33 ตัว โดยแบ่งออกเป็นหมวดหรือวรรค ดังนี้

วรรค กะ ก ข ค ฆ ง
วรรค จะ จ ฉ ช ฌ ญ
วรรค ฏะ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ
วรรค ตะ ต ถ ท ธ น
วรรค ปะ ป ผ พ ภ ม
เศษวรรค ย ร ล ว ส ห ฬและ ํ
พยัญชนะทุกตัว อ่านออกเสียง อะ เช่น กะ ขะ จะ ตะ ปะ

3. เครื่องหมายต่าง ๆ

3.1 ( ํ ) เรียกว่า นิคหิต เป็นวงกลมเล็ก ๆ ที่เขียนบนพยัญชนะอ่านออกเสียงแม่ กง คือใช้ ง สะกด เช่น ตํ = ตัง วิสํ = วิสัง

3.2 ( ฺ ) เรียกว่า พินทุ เป็นจุดที่เขียนไว้ใต้พยัญชนะตัวใด พยัญชนะตัวนั้นเป็นตัวสะกด ไม่ออกเสียง เช่น มะยงฺ = มะ ยัง สิกฺขา = สิก ขา บางครั้งใช้ พินทุ เพื่อเป็นตัวควบกล้ำในกรณีนี้ให้อ่านออกเสียงกึ่งมาตรา เช่น พฺยาธิ = พยา ธิ

4 การอ่านภาษาบาลี สะกดแบบบาลี มีดังนี้

4.1 พยัญชนะตัวใดที่เขียนโดด ๆ โดยไม่มีสระให้อ่านออกเสียงสระอะ พยัญชนะที่มีสระอื่นกำกับก็ออกเสียงตามนั้น เช่น
ยาจาม อ่านว่า ยา-จา-มะ
สห อ่านว่า สะ-หะ

4.2 เมื่อมีพินทุอยู่ใต้พยัญชนะตัวใด พยัญชนะตัวนั้นเป็นตัวสะกด ไม่ออกเสียงเช่น
ภนฺเต อ่านว่า ภัน-เต
อตฺถิ อ่านว่า อัต-ถิ
จนฺโท อ่านว่า จัน-โท

4.3 บางครั้งใช้พินทุ จุดใต้พยัญชนะ เพื่อให้ตัวควบกล้ำ ในกรณีนี้อ่านออกเสียงกึ่งมาตรา เช่น
พยาธิ อ่านว่า พยา-ธิ
พฺราหฺมณ อ่านว่า พราม-มะ-ณะ

4.4 ในการสะกดแบบบาลี มีการใช้ นิคหิต ถือว่าเป็นพยัญชนะออกเสียง แม่กง คือใช้เป็นตัว ง สะกด เช่น
มยํ อ่านว่า มะ-ยัง
วิสุ อ่านว่า วิ-สุง

สะกดแบบไทยและบาลี
การอ่านภาษาบาลีจากคำอาราธนาศีล อาราธนาธรรม อาราธนาพระปริตร โดยมีการสะกดแบบบาลี แบบไทยและคำแปล ดังนี้

1. คำอาราธนาศีล

สะกดแบบบาลี
- มยํ ภนฺเต วิสุ วิสุ รกฺขณตฺถาย ติสรเณน สห ปญฺจสีลานิยาจาม
- ทุติยมฺปิ มยํ ภนฺเต วิสุ วิสุ รกฺขณตฺถาย ติสรเณน สห ปญฺจสีลานิยาจาม
- ตติยมฺปิ มยํ ภนฺเต วิสุ วิสุ รกฺขณตฺถาย ติสรเณน สห ปญฺจสีลานิยาจาม

สะกดแบบไทย
- มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะสีลานิยาจามะ
- ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะสีลา นิยาจามะ
- ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะสีลานียาจามะ

คำแปล
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญข้าพเจ้าทั้งหลายขอศีล 5 ประการ พร้อมด้วยไตรสรณคมน์เพื่อเป็นประโยชน์แก่การรักษาเป็นภาค ๆ ไป



2. คำอาราธนาธรรม

สะกดแบบบาลี
พฺรหฺมา จ โลกาธิปติ สหมฺปติ
กตฺอญฺชลี อนฺธิวรํ อยาจถ
สนฺตีธ สตฺตาปฺปรชกฺขชาติกา
เทเสตุ ธมฺมํ อนุกมฺปิมํ ปชํ

สะกดแบบไทย
พรหมา จะ โลกาธิปะติ สะหัมปะติ
กัตอัญชะลี อันธิวะรัง อะยาจะถะ
สันตีธะ สัตตาปปะระชักขะชาติกา
เทเสตุ ธัมมัง อะนุกัมปิมัง ปะชัง

คำแปล
แท้จริงท้าวสหัมบดีพรหม พรหมผู้เป็นอธิบดีของโลกได้กระทำอัญชลีกร กราบทูลวิงวอนพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ประเสริฐว่า สัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลี คือ กิเลสในดวงตาเบาบางยังมีอยู่ในโลกนี้ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าได้โปรดแสดงธรรมเพื่ออนุเคราะห์แก่หมู่สัตว์นี้ด้วยเถิด

3. คำอาราธนาพระปริตร

สะกดแบบบาลี
วิปตฺติปฏิพาหาย สพฺพสมฺปตฺติสิทฺธิยา
สพฺพทุกฺขวินาสาย ปริตตํ พฺรูถ มงคลํ
วิปตฺติปฏิพาหาย สพฺพสมฺปตฺติสิทฺธิยา
สพฺพภยวินาสาย ปริตฺตํ พฺรูถ มงฺคลํ
วิปตฺติปฏิพาหาย สพฺพสมฺปตฺติสิทฺธิยา
สพฺพโรควินาสาย ปริตตํ พฺรูถ มงฺคลํ

สะกดแบบไทย
วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
สัพพะทุกขะวินาสายะ ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง
วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
สัพพะภะยะวินาสายะ ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง
วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
สัพพะโรคะวินาสายะ ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง

คำแปล
ขอพระสงฆ์ทั้งหลาย จงสวดพระปริตรอันเป็นมงคล เพื่อป้องกันความวิบัติทั้งปวงเพื่อความสำเร็จแห่งสมบัติทั้งปวง เพื่อให้โรคภัยทั้งปวงพินาศไป

4. คำอาราธนาศีล 5

สะกดแบบบาลี
ปาณาติปาตา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
อทินนาทานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
กาเมสุมิจฺฉาจารา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
มุสาวาทา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
สุราเมรยมชฺชปมาทฎฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ

สะกดแบบไทย
ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

คำแปล
งดเว้นจากการฆ่าสัตว์
งดเว้นจากการลักทรัพย์
งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
งดเว้นจากการพูดเท็จ
งดเว้นจากการดื่มของมึนเมา

คำอาราธนาศีล 8
สะกดแบบบาลี
ปาณาติปาตา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
อทินฺนาทานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
อพฺรหฺมจริยา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
มุสาวาทา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
วิกาลโภชนา เวรมณี สิกขาปทํ สมาทิยามิ
นจฺจคิตวาทิตวิสูกทสฺสนะ มาลาคนฺธวิเลปน ธารณมณฺฑนวิภู
สนฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
อุจฺจาสยนมหาสยนา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ

สะกดแบบไทย
ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อะพรหมจะริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
มุสาวาทา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
วิกาละโภชะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนะ มาลาคันธะวิเลปะนะ ธาระณะมัณฑะะนะวิภู
สะนัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

คำแปล
งดเว้นจากการฆ่าสัตว์
งดเว้นจากการลักทรัพย์
งดเว้นจากการประพฤติผิดพรหมจรรย์
งดเว้นจากการพูดเท็จ
งดเว้นจากการดื่มน้ำเมาอันเป็นฐานแห่งความประมาท
งดเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล
งดเว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี ดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกเเห่ง
พรหมจรรย์ ตลอดจนลูบไล้ทัดทรงประดับตกเเต่งร่างกายด้วยดอกไม้ของหอม เครื่องย้อม เครื่องทา
งดเว้นจากการนอนบนที่อันสูงใหญ่ภายในยัดด้วยนุ่นและสำลี

คำอาราธนาศีล 10

สะกดแบบบาลี
ปาณาติปาตา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
อทินฺนาทานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
อพฺรหฺมจริยา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
มฺสาวาทา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
สุราเมรยมชฺชปมาทฏฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
วิกาลโภชนา เวรณี สิกฺขาปทฺ สมาทิยามิ
นจฺจคิตวาทิตวิสูกทสฺสนา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
มาลาคนฺธวิเลปนธารณมณฺฑนวิภู สะนฏฺฐานา วเรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
อุจฺจาสยนมหาสยนา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
ชาตรูปรชตปฏิคฺคหณา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ

สะกดแบบไทย

ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อะพรหมจะริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
วิกาละโภชะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
มาลาคันธะวิเลปะนะธาระณะมัณฑะนะวิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อุจจสสะยะนะมหาสะยะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ชาตะรูปะระชะตะปฏิคคะหะณา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

คำแปล
งดเว้นจากการฆ่าสัตว์
งดเว้นจากการลักทรัพย์
งดเว้นจากการประพฤติผิดพรหมจรรย์
งดเว้นจากการพูดเท็จ
งดเว้นจากการดื่มน้ำเมาอันเป็นฐานแห่งความประมาท
งดเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล
งดเว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี ดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกแห่งพรหมจรรย์
งดเว้นจากการลูบไล้ทัดทรงประดับตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ของหอม เครื่องหอม เครื่องทา
งดเว้นจากการนอนบนที่นอนอันสูงใหญ่ ภายในยัดด้วยนุ่นและสำลี
งดเว้นจากการรับทรัพย์สินเงินทอง

การอ่านภาษาบาลีจากพุทธศาสนสุภาษิต

1. อตฺตนา โจทยตฺตานํ อ่านว่า อัต-ตะ-นา-โจ-ทะ-ยัต-ตา-นัง ( จงเตือนตนด้วยตนเอง )

ตน หมายถึง กายและใจของคน แต่กายจะอยู่ในอำนาจของใจ ดังนั้นการเตือนใจตนเองเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะทำให้ละเว้นความชั่ว ประพฤติชอบ ประพฤติดี เพื่อให้ตนมีความสุขความเจริญ ยิ่ง ๆ ขึ้น ในชีวิตของคนเราหลายครั้งที่ตกอยู่ในความประมาท หลงผิด ทำผิด ทั้งโดยไม่ตั้งใจ และตั้งใจ ซึ่งถือว่าเป็นธรรมดาแต่ถ้าเราโชคดีได้อยู่ใกล้คนที่หวังดีต่อเรา เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง ญาติและเพื่อน คอยช่วยเหลือตักเตือน ให้เราหยุดคิดไม่ทำผิด แต่บุคคลเหล่านี้ไม่ได้อยู่กับเราตลอดเวลา เราจึงควรมีสติที่จะพยายามเตือนตนเอง เพราะเป็นสิ่งที่แน่นอนที่สุด

การเตือนตนด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่ยากแต่ก็ทำได้โดยการฝึก ค่อย ๆ ทำเรื่องเล็ก ๆ ไปก่อนเพื่อให้เกิดความเคยชิน เช่น ไม่ประหยัด ก็ต้องคอยเตือนว่า จะไม่มีเงิน จะไม่มีกิน จะเดือดร้อน แล้วอนาคตจะเป็นอย่างไร

2. วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ อ่านว่า วิ-ริ-เย-นะ ทุก-ขะ-มัจ-เจ-ติ ( คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร )
ทุกข์ หมายถึง ความยาก ความลำบาก ความเดือดร้อน ความไม่สบายกายไม่สบายใจ
ความเพียร หมายถึง ความพยายามในการต่อสู้กับความยากลำบากความเดือดร้อน ความไม่สบายกายสบายใจและอื่น ๆ อย่างไม่ย่อท้อ
ความเพียรจึงเป็นเหตุให้พ้นทุกข์ได้ในทุกสถานการณ์ เช่น เรียนหนังสือไม่เก่ง เป็นทุกข์ก็ต้องพยายามอ่านหนังสือให้มาก ตั้งใจเรียน ก็จะเรียนได้ ความทุกข์ก็จะหมดไป พระพุทธองค์จึงตรัสไว้ว่าคนจะล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร

3. ททํ มิตฺตานิ คนฺถติ อ่านว่า ทะ-ทัง มิต-ตา-นิ คัน-ถะ-ติ (ผู้ให้ย่อมผูกไมตรีไว้ได้ )
ให้ หมายถึง การสละแบ่งปันในสิ่งของของตนที่ควรให้แก่คนที่ควรให้ เป็นการแสดงน้ำใจ หรือเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การให้มี 3 อย่าง คือ
3.1 อนุเคราะห์ คือ การช่วยเหลือผู้ที่ด้อยกว่า ให้เขามีความสุขสบายยิ่งขึ้น จะทำให้ผู้รับนึกถึงอยู่เสมอ
3.2 สงเคราะห์ คือ การให้ เพื่อแสดงความโอบอ้อมอารีและมีน้ำใจ ผู้รับจะต้องชอบใจ
3.3 บูชา คือการให้ด้วยความเคารพ ระลึกถึง เป็นการให้สิ่งของ พ่อ แม่ ครู- อาจารย์ จะทำให้ผู้ใหญ่รักใคร่เอ็นดู
การให้ทุกชนิดล้วนผูกใจคนไว้ได้ เพราะทำให้ผู้อื่น พ้นทุกข์ ระลึกถึง รักใคร่และนับถือ
จึงพูดได้ว่า ผู้ให้ย่อมผูกไมตรีไว้ได้

4. ธมฺมจารี สุขํ เสติ อ่านว่า ธัม-มะ-จา-รี สุ-ขัง-เส-ติ ( ผู้ประพฤติธรรมย่อมผู้เป็นสุข )
คำว่า ธรรม หมายถึง หลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่ผู้ปฏิบัติแล้วไม่ตกต่ำ เกิดความเจริญรุ่งเรือง ประพฤติ หมายถึง การปฏิบัติ การกระทำ
ผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุข คือ ผู้ที่ปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า แล้วประพฤติดี ประพฤติชอบ ก็จะเกิดความสุข เช่น ผู้ที่ปฏิบัติ ศีล 5 ได้ก็สามารถขจัดความทุกข์มีความสุขทันที

5. ยํ เว เสวติ ตาทิโส อ่านว่า ยัง-เว เส-วะ-ติ ตา-ทิ-โส ( คบคนเช่นใดย่อมเป็นเช่นนั้น )
คนเราจะอยู่คนเดียวในโลกนี้ไม่ได้ จึงต้องมีการคบค้าสมาคมกับคนอื่น ซึ่งบุคคลที่เรา จะคบด้วยมีอยู่ 2 ประเภท คือ

คนดีหรือบัณฑิต คือ คนที่ประพฤติดีทั้งกาย วาจา ใจ เช่น มีจิตเมตตาเอื้อเฟื้อ ไม่ลักขโมย ไม่พูดเท็จ ไม่พูดสับปรับ ไม่อิจฉาริษยาใคร ขยันเรียน ประกอบอาชีพสุจริต เป็นต้น
คนไม่ดีหรือคนพาล คือคนที่ประพฤติชั่วทั้งกาย วาจา ใจ เช่น คนชอบขโมย ขี้เกียจ พูดจาไม่ไพเราะ ชอบเบียดเบียนผู้อื่นเป็นต้น

การคบ คือการไปมาหาสู่ การสนิทชิดชอบ ให้ความรักความเคารพต่อกัน คนเรามักจะเอาสิ่งใกล้ตัวเป็นแบบอย่าง บางครั้งซึมซาบโดยไม่รู้ตัว เช่น อยู่ใกล้คนสกปรก แรก ๆ รู้สึกรังเกียจอยู่นาน ๆ ก็คล้อยตามกลายเป็นคนสกปรกไปด้วย แต่ถ้าเราอยู่ใกล้คนดี จะทำอะไรก็คอยตักเตือนช่วยเหลือ เราก็จะซึมซับเอาความดีไปด้วย ดังคำสุษาษิตที่ว่า

คบคนพาล พาลพาไปหาผิด
คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล
คบคนชั่วพาตัวอับจน คบคนดีมีผลจนวันตาย

ค้นหาข้อมูล

จำนวนผู้เข้าชม